Welcome www.herbsdd.blogspot.com

ขอต้อนรับเข้าสู่เวปไซต์ www.herbsdd.blogspot.com เพื่อคนรักสุขภาพและสมุนไพร เพื่อชีวิตที่ดีด้วยวิธีง่ายๆในการใส่ใจสุขภาพที่น่าทะนุถนอมของคุณ

วันอังคารที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2554

สมุนไพรลดความอ้วน



โรคอ้วน เป็นปัญหาอย่างหนึ่งที่มีสถิติผู้เป็นมากขึ้นเรื่อยๆ สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากการตามใจ ปาก กินหรือบริโภคแบบไม่บันยะบันยัง เพียงแค่ยึดหลักให้ อร่อยลิ้นเป็นฟาดเรียบจนพุงกาง แบบที่เรียกว่าตามใจปากเป็นหมู เพราะบางครั้งเวลาเรากินอาหารไม่ได้เพราะเราหิว แต่เรากินเพราะความอยาก พอกลิ่นอาหารจานโปรดโชยเข้าจมูก น้ำลายก็สอยากที่จะอดใจ และปัจจัยอีกอย่างหนึ่งมาจากอาหารที่รับประทานเข้าไปมีไขมันสูง แป้งหรือน้ำตาลเยอะ ผักผลไม้รับประทานน้อย หรือบางคนไม่กินเลย เผลอแผล็บเดียวน้ำหนักเพิ่มขึ้น ตัวอ้วนกลมปุ๊ก คิดจะลดน้ำหนักให้เหลือเท่าเดิมก็สายเกินไป ลดได้ยากแล้ว ถึงตอนนี้โรคต่างๆก็จะตามมา หลายโรค ดังนั้นจึงควรระวังในเรื่องการกิน อย่าได้ตามใจปากอย่างเด็ดขาด


สมุนไพรลดความอ้วน 1.




ผลส้มแขก
ผลส้มแขก หรือ Garcinia Combogia เป็นสมุนไพรที่พบมากทางภาคใต้ มีรูปร่างคล้ายผลฟักทองขนาดเล็ก มีการวิจัยแล้วว่าในส้มแขกนั้นมีสาร HCA ซึ่งเป็นตัวยับยั้งการสะสมของไขมันส่วนเกิน เปลี่ยนไขมันที่สะสมไว้ให้เป็นพลังงาน ปัจจุบันผลส้มแขกจึงถูกนำมาใช้ในการลดความอ้วน ซึ่งบรรจุในรูปของแคปซูลหาซื้อได้ตามท้องตลาดทั่วไป

สมุนไพรลดความอ้วน 2.





หัวบุก (Corm)
หัวบุก หรือคอนยัค เป็นพืชล้มลุกคล้ายพืชตระกูลมัน มีสารกลูโคแมนแนนที่ช่วยให้รู้สึกอิ่มเร็ว เพราะพองตัวได้นานถึงครึ่งชั่วโมง และช่วยลดการดูดซึมของน้ำตาลในร่างกาย หัวบุกไม่ให้พลังงานแต่การวิจัยพบว่าหัวบุกมีส่วนช่วยในเรื่องลดความอ้วนน้อย หัวบุกมักจะถูกแปรรูปเป็นเส้นใยขุ่นคล้ายวุ้นเส้น หรือก้อนลูกเต๋าเล็ก ๆ นำมาผสมกับเครื่องดื่ม

สมุนไพรลดความอ้วน 3.


แมงลัก
แมงลัก เป็นพืชล้มลุกให้ไฟเบอร์สูง มีคุณสมบัติดูดซับน้ำได้ 25 เท่า ทำให้พองตัว เมื่อกินเข้าไปจึงทำให้รู้สึกอิ่มเร็วและอยู่ท้องนาน ซึ่งช่วยป้องกันการดูดซึมไขมันสู่กระแสเลือด ช่วยลดระดับไขมันและน้ำตาล ขับถ่ายได้ง่ายมากขึ้น บรรเทาอาการท้องผูก ช่วยลดการดูดซึมอาหารเข้าสู่ร่างกาย

สมุนไพรลดความอ้วน 4.




รำข้าวโอ๊ต
รำข้าวโอ๊ต ข้าวโอ๊ตพบมากในประเทศแถบยุโรป เป็นไฟเบอร์ที่ช่วยลดการดูดซึมสารอาหารเข้าสู่ร่างกาย และรำข้าวโอ๊ตจะเกาะติดกับไขมันทำให้ร่างกายดูดซึมไขมันไปได้น้อย อีกทั้งยังช่วยในการขับถ่าย ลดคอเลสเตอรอลในเลือดได้ ไม่ทำให้ท้องผูก รำข้าวโอ๊ต บรรจุอยู่ในรูปของแคปซูลราคาค่อนข้างสูง

สมุนไพรลดความอ้วน 5.

ดอกคำฝอย
ดอกคำฝอย ดอกคำฝอยมักจะนำมาทำเป็นชาที่เรารู้จักกันดีว่า ชาดอกคำฝอยมีคุณสมบัติช่วยลดไขมันในเลือด บำรุงเลือด ขับเหงื่อและเป็นยาระบาย ช่วยในการขับถ่าย ปัจจุบันนำมาใช้ในการลดความอ้วนด้วยการชงดื่ม

สมุนไพรลดความอ้วน 6.





พริกขี้หนู พริกไทย
พริก พริกขี้หนู พริกไทย เป็นสมุนไพรที่มีสารแคปไซซิน ที่ช่วยร่างการเผาผลาญไขมันและอาหารเพิ่มขึ้น เมื่อสารอาหารถูกเผาผลาญได้เร็วขึ้นน้ำหนักก็จะลงเร็ว แต่ต้องระวังเพราะอาจจะทำไห้ท้องเสียได้ และการกินเผ็ดจัด ๆ ทำให้เกิดผลร้ายกับกระเพาะ

สมุนไพรลดความอ้วน 7.


สาหร่ายเกลียวทอง (Spirulina)
สาหร่ายเกลียวทอง สาหร่ายเกลียวทองหรือสาหร่ายสไปรูลิน่า เป็นพืชที่ให้โปรตีนสูง มีวิตามินบี เอ ธาตุเหล็ก สังกะสี ทองแดง แมงกานีส แคลเซียมมีกรด GLA ซึ่งมีคุณสมบัติลดไขมันในเลือด ลดความดันโลหิต แก้สิวฟ้า สาหร่ายสไปรูลิน่ามักอยู่ในรูปแคปซูล หาซื้อง่าย

สมุนไพรลดความอ้วน 8.

ใบย่านาง

หากใครเป็นคออาหารอีสานรสแซบแล้วละก็ เป็นต้องคุ้นกับกลิ่นใบย่านางที่เคล้ามากับซุบหน่อไม้และแกงหน่อไม้ที่หอมยั่วน้ำลาย
ใครบางคนว่ากลิ่นใบย่านางนั้นหอมแต่บางคนก็ว่าฉุนทั้งนี้และทั้งนั้นก็อาจเป็นเพราะขึ้นอยู่กับรสนิยมของคนกินด้วยว่ากลิ่นที่ว่านี้จะถูกกันหรือไม่ แต่หากว่าแกงกับซุบหน่อไม้ไร้ซึ่งน้ำคั้นจากใบย่านางก็เห็นทีจะไม่เป็นซุบหรือแกงที่รสชาติแซบนัว (แปลว่าอร่อยแบบกลมกล่อม – ภาษาอีสาน) เพราะกลิ่นเปรี้ยวกลิ่นขื่นและรสขมของหน่อไม้ทีดองก่อนนำมาทำอาหาร
ย่านาง หรือ TILIACORA TRIANDRA DIELS อยู่ในวงศ์ MENISPERMACEAE เป็นไม้เลื้อย พบขึ้น ตามป่าผลัดใบ ป่าดงดิบ และป่าโปร่ง ทุกภาค ของประเทศไทย มีสรรพคุณเฉพาะ ทั้งต้นปรุงเป็นยาแก้ไข้กลับ ใบเป็นยาถอนพิษ การช่วยถอนพิษ แก้ไข้และลดความร้อนในร่างกายได้ อีกทั้งยังเป็นพืชที่ให้แคลเซียมและวิตามินซีค่อนข้างสูง และยังให้สารอาหารอื่นๆ เช่น ฟอสฟอรัส เหล็ก และวิตามินเอ วิตามินบี 1 บี 2 และเบต้า-แคโรทีน หากกินทั้งใบก็จะมีเส้นใยมาก ส่วนรากของใบย่านางช่วยถอนพิษ แก้ไข้ แก้เมารถ เมาเรือ แก้โรคหัวใจและแก้ลมได้ด้วย ขอแถมให้อีกนิด หากนำน้ำใบย่านางมาสระผม จะช่วยทำให้ผมดกดำ ชลอผมหงอกได้อีกต่างหาก
ลักษณะทั่วไปของใบย่านาง
ย่านางนั้นเป็นไม้เลื้อย เถาสีเขียวสดและอวบน้ำ ภายในลำต้นมีน้ำเมือกเหนียว มีขนตามกิ่งอ่อน เถาเมื่อแก่มีผิวเรียบและเหนียวมาก ใบเป็นใบเดี่ยว สีเขียวเข้มรูปไข่แกมรี ปลายใบแหลม โคนใบมน ผิวใบมัน ออกดอกเล็ก ๆ ตามซอกใบ ดอกมีสีเหลือง ผลมีขนาดเล็กกลมรี

การปลูกและดูแลรักษา

เดิมนั้นเถาย่านางมักขึ้นอยู่เองตามป่า แต่อยากปลุกก็ไม่ยากเพียงแค่เพราะเมล็ดหรือขุดเอารากที่เป็นหัวไปปลูกในที่ใหม่ รดน้ำให้ฉ่ำชุ่ม สักพักเถาย่านางก็จะคลี่กางเลื้อยขึ้นพันค้างที่เตรียมไว้ หรือหากไม่มีค้างก็มักเลื้อยพันต้นไม้อื่นที่อยู่ใกล้เคียง ซึ่งก็ไม่ถือเป็นเรื่องลำบากยากเย็นสำหรับเถาย่านาง เพราะเดิมนั้นเถาย่านางเป็นไม้ป่าจึงไม่กลัวความลำบากลำบน อดทนเป็นเยี่ยมและเติบโตได้ในทุกสภาพดินและสภาพอากาศทุกฤดูกาล หากอยากได้บรรยากาศเมืองร้อนแลป่าฝนก็ปลูกชมใบสีเขียวก็ดี

ใบย่านางลดความอ้วน

อย่างไรก็ตาม ในส่วนของสมุนไพร มีสูตรใช้ลดความอ้วนมากมายหลายสูตรและสูตร ที่ทำง่ายๆและได้ผลดีได้แก่ วิธีเอา “ย่านาง” ทั้งต้น มีขายตามแผงขายพืชผักพื้นบ้าน ตามตลาดสดทั่วไป เป็นกำ กำละ 5-10 บาท ใช้ทั้งกำล้างน้ำให้สะอาดต้มน้ำท่วมยาจนเดือด ดื่มขณะอุ่น 3 เวลาก่อนหรือหลังอาหารก็ได้ ครั้งละ 1 แก้ว ต้มกินจนยาจืด ทำกินเรื่อยๆจะช่วยให้น้ำหนักค่อยๆลดลงได้ แต่ไม่ใช่ลดแบบฮวบฮาบ เมื่อน้ำหนักอยู่ ในระดับที่ต้องการแล้ว จะหยุดกินก็ได้ ข้อสำคัญต้องควบคุมอาหารด้วยจะได้ผลดี และเร็ว
ไม่ว่าคุณจะใช้สมุนไพรตัวใดเพื่อลดน้ำหนักก็ตาม ควรจะปฏิบัติควบคู่ไปกับการกินอาหารให้ครบทั้ง 5 หมู่ และออกกำลังกายสม่ำเสมอจะช่วยให้การลดน้ำหนักได้ผลดีขึ้น อย่าจดจ่อกับการใช้สมุนไพรอย่างเดียว เพราะการกินแค่สมุนไพรอาจจะทำให้คุณขาดสารอาหารและเสียชีวิตได้

วันจันทร์ที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2554

สมุนไพรในครัว


กระชาย (Fingerroot)
สรรพคุณทางยา ใช้ขับลม ช่วยย่อย แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ จุกเสียดแน่ แก้อาการปวดมวนในท้อง ขับระดูขาว ขับปัสสาวะ บำรุงหัวใจ ในกระชายประกอบด้วย วิตามินเอ วิตามินบี 2 และ แคลเซียม
การนำไปใช้ นิยมใส่ในแกงที่ใช้เนื้อสัตว์กลิ่นคาว เช่น ปลา เนื้อวัว หรือใช้เป็นเครื่องปรุงเพิ่มความหอม เช่น ใส่ในผัดเผ็ด แกงป่า ทำเป็นน้ำยาของขนมจีนน้ำยา


กระเพรา (Holy Basil)
สรรพคุณทางยา ป้องกันโรคขาดเลือด ขับน้ำดี ช่วยย่อยไขมัน แก้จุกเสียด ในกะเพราประกอบด้วย เบต้า-แคโรทีน แคลเซียม ธาตุเหล็ก เส้นใยอาหาร และฟอสฟอรัส
การนำไปใช้ ใส่ต้มยำโป๊ะแตกเพื่อช่วยดับกลิ่นคาวจากเนื้อสัตว์ทะเล ใส่ผัดกะเพรา ทอดกรอบแนมกับทอดมัน หรือใส่ในส่วนผสมทอดมัน และแกงป่า


โหระพา (Sweet Basil)
สรรพคุณทางยา ช่วยย่อยอาหาร แก้อาการจุกเสียด แน่นท้อง ในโหระพาประกอบด้วย วิตามินเอ วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 วิตามินซี แคลเซียม ธาตุเหล็ก เส้นใยอาหาร ฟอสฟอรัส และเบต้า-แคโรทีน
การนำไปใช้ นิยมใส่ในแกงกะทิ แกงเขียวหวาน แกงเผ็ด หรือใส่ในผัดอย่างหอยลายผัดน้ำพริกเผา นอกจากนี้ยังนิยมกินสดกับลาบ ก้อย น้ำตก และใส่เป็นผักต้มในอาหารอีสานอย่างแจ่วฮ้อน ส่วนอาหารเวียดนามนิยมกินสดแนมกับแหนมเนือง หรือใส่เป็นไส้ผักในเปาะเปี๊ยะเวียดนาม และก๋วยเตี๋ยวเวียดนามที่เรียกว่า เฝอ ในก๋วยเตี๋ยวไทยก็นิยมด้วยเช่นกัน โดยเฉพาะก๋วยเตี๋ยวเรือ

หอมแดง (Shallot)
สรรพคุณทางยา ขับลม ขับปัสสาวะ ขับเสมหะ ขับประจำเดือน แก้ไข้ แก้หวัด ช่วยย่อยอาหาร เจริญอาหาร ในหอมแดงประกอบด้วย เซเลเนียมเป็นเกลือแร่ที่ทำหน้าที่เป็นตัวประสานการทำงานของเอนไซม์ระหว่างวิตามินดี เอ และซี
การนำไปใช้ ใส่ในยำ ลาบ พล่า เป็นส่วนผสมในน้ำพริกแกงต่างๆ หรือซอยบางๆ เจียวให้กรอบโรยหน้าขนมหม้อแกง และใส่ในน้ำปลาหวาน ราดไข่ลูกเขย หรือน้ำปลาหวานกินกับสะเดาลวกและปลากดุกย่าง


สะระแหน่ (Kicthen Mint)
สรรพคุณทางยา น้ำคั้นจากต้นและใบดื่มแก้ปวดมวนในท้อง แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ขับลม หรือกินสดเพื่อดับกลิ่นปาก ขับเหงื่อ นอกจากนี้ยังช่วยฆ่าเชื้อ ระงับอาการเกร็งของกระเพาะอาหารและลำไส้ ในสะระแหน่ประกอบด้วย วิตามินเอ วิตามินบี 2 วิตามินซี แคลเซียม และ ธาตุเหล็ก
การนำไปใช้ มักกินเป็นผักสดโดยใส่ในยำ ลาบ พล่า น้ำตก



พริกไทยอ่อน (Pepper)
สรรพคุณทางยา ช่วยย่อยอาหาร ขับลม ขับเหงื่อ ลดความร้อนในร่างกาย เป็นยาอายุวัฒนะ
การนำไปใช้ มักใส่ในอาหารที่ใช้เนื้อสัตว์กลิ่นคาว ใส่คู่กับกระชาย เช่น แกงป่า ผัดเผ็ด และใส่เป็นเครื่องปรุงน้ำพริก เช่น น้ำพริกพริกไทยอ่อน


ข่า (Galanga)
สรรพคุณทางยา เป็นยาขับลมในลำไส้ แก้บิด ท้องอืด โรคหืด ขับเสมหะ และโรคหลอดลมอักเสบ ในข่าประกอบด้วย วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 แคลเซียม เส้นใยอาหาร และฟอสฟอรัส
การนำไปใช้ มักใส่ในอาหารประเภทต้ม เช่น ต้มยำ ต้มข่า ต้มแซบ หรือน้ำซุปก๋วยเตี๋ยว ทั้งก๋วยเตี๋ยวเป็ด ก๋วยเตี๋ยวเนื้อ ใช้เป็นเครื่องปรุงในการต้มพะโล้ขาหมู บ้างก็นำมาโขลกละเอียดใส่ในลาบ เช่น ลาบปลาดุก ลาบหมู คนจีนมักนำข่ามาโขลกละเอียดผสมเต้าเจี้ยวกินกับข้าวต้มปลาและที่ขาดไม่ได้คือเป็นส่วนผสมในน้ำพริกแกงต่างๆ


แมงลัก (Hairy Basil)
สรรพคุณทางยา เป็นยาขับลมในลำไส้ แก้ปวดซางในเด็ก แก้ไอ บำรุงน้ำนม แก้โรคผิวหนัง เลือดออกตามไรฟัน และเป็นยาระบาย ในแมงลักประกอบด้วย วิตามินบี 2 วิตามินซี แคลเซียม ธาตุเหล็ก และเส้นใยอาหาร
การนำไปใช้ กินเป็นผักสดแนมกับขนมจีน ใส่ในแกงเลียง แกงอีสาน เช่น แกงเห็ด แกงหน่อไม้



ตะไคร้ (Lemongrass)
สรรพคุณทางยา ใช้เป็นยาทาแก้ปวด เช่น โรครูมาติซัม อาการปวดตามบั้นเอว ช่วยย่อยอาหาร ขับปัสสาวะอย่างอ่อน ขับเหงื่อ แก้ตกขาว อาเจียน ลดความดันโลหิต ขับลม แก้ไข้ ปวดท้อง โรคทางเดินปัสสาวะ นิ่ว และอาการปวดเกร็ง ในตะไคร้ประกอบด้วย วิตามินเอ แคลเซียม ธาตุเหล็ก เส้นใยอาหาร และฟอสฟอรัส
การนำไปใช้ ใส่ในอาหารประเภทต้มยำ พล่า เช่น ต้มยำ ต้มแซบ หรือต้มกับน้ำให้มีความหอมเพื่อลวกอาหารทะเล เช่น หอยแครง หอยแมลงภู่ กุ้ง ปลาหมึก นอกจากนี้ยังซอยเฉียงเบาๆ แล้วทอดกรอบคลุกกับน้ำปรุงรสใช้โรยหน้าอาหารประเภทเนื้อปลาทอด เช่น ปลาทอดตะไคร้ ที่ขาดไม่ได้คือใช้เป็นส่วนผสมในเครื่องปรุงน้ำพริกแกงต่างๆ


มะกรูด (Caffir Lime)
สรรพคุณทางยา ผสมมะกรูดช่วยขับลม แก้จุกเสียด แก้ลมวิงเวียน น้ำมะกรูดแก้เลือดออกตามไรฟัน ในมะกรูดประกอบด้วย เบต้า-แคโรทีน วิตามินเอ วิตามินบี 2 วิตามินซี แคลเซียม และโปรตีน
การนำไปใช้ ใช้ได้ทั้งผลมะกรูดและใบมะกรูด การใช้ผสมมะกรูดจะปอกเอาแต่ผิวเปลือกใส่เป็นส่วนผสมในน้ำพริกแกงต่างๆ น้ำมะกรูดใช้ปรุงรสเปรี้ยวในแกงเทโพ แกงส้ม เพราะมีกลิ่นหอม รสเปรี้ยวอมหวานกลมกล่อม ถ้าผ่าครึ่งผลตามขวางทั้งเปลือกมักใส่ในแกงเทโพ น้ำพริกน้ำยาของขนมจีน ใบมะกรูด ใช้ใส่ต้มยำ ต้มข่า ต้มแซบ หรือซอยโรยหน้าห่อหมก ฉู่ฉี่ พะแนง และใส่เป็นส่วนผสมทอดมัน

กระเทียม (Garlic)
สรรพคุณทางยา มีฤทธิ์ลดความดันโลหิต ลดระดับไขมัน คอเลสเตอรอลและน้ำตาลในเลือด ในกระเทียมประกอบด้วย เซเลเนียม ซึ่งเป็นแร่ธาตุที่ทำหน้าที่เป็นตัวประสานการทำงานของเอนไซม์ระหว่างวิตามินอี เอ และซี
การนำไปใช้ ใส่ในผัดต่างๆ เช่น ผัดผักบุ้ง ผัดกะเพรา หรือสับละเอียดแล้วเจียวให้เหลืองใส่ในข้าวต้ม แกงจืด นำไปผสมกากหมูเจียวใส่เป็นเครื่องแต่งกลิ่นในก๋วยเตี๋ยวต่างๆ หรือนำมาโขลกกับรากผักชีและพริกไทยเป็นเครื่องหมักอาหาร เช่น ผสมกับเนื้อหมูบนใส่ในแกงจืด หมักเนื้อไก่ที่จะย่าง และเป็นส่วนผสมในน้ำพริกแกงต่างๆ

ขิง (Ginger)
สรรพคุณทางยา ช่วยขับลม ขับน้ำดี ลดอาการบีบตัวของลำไส้ แก้อาการคลื่นไส้ อาเจียน ปวดศีรษะ ปวดท้อง ป้องกันการอักเสบ มีสารต้านการเกิดมะเร็ง ต้านการเกิดปฏิกิริยากับออกซิเจนและอาการจิตซึมเศร้า ในขิงประกอบด้วย แคลเซียม เป็นส่วนสำคัญในการสร้างกระดูกและฟัน ช่วยในการแข็งตัวของเลือด
การนำไปใช้ ขิงมีทั้งขิงอ่อน ขิงแก่ การนำไปใช้ก็ต่างกัน ขิงแก่นิยมใส่ในอาหารเพื่อดับกลิ่นคาวและเพิ่มความหอม เช่น โขลกรวมกับน้ำพริกแกงแล้วนำไปผัดพริกขิงหมูกับถั่วฝักยาว หรือใส่เป็นน้ำต้มขิงกินกับเต้าฮวยและใส่ในน้ำต้มน้ำตาล หรือซอยบางๆ ใส่ในปูอบวุ้นเส้น ส่วน ขิงอ่อน นิยมกินเป็นผัก เช่น ซอยใส่ในไก่ผัดพริก โรยหน้าโจ๊ก ต้มส้มปลา กินแนมกับไส้กรอกอีสาน ถ้ามีมากก็นำมาดองเป็นขิงดองสามรส กินกับเป็ดย่าง ไข่เยี่ยวม้า

พริกชี้ฟ้า (Chilli)
สรรพคุณทางยา ป้องกันหลอดลมอักเสบ แผลในกระเพาะอาหาร ทำลายเชื้อแบคทีเรีย ลดก๊าซที่เกิดจากการย่อยอาหาร ลดการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อท้องที่เกิดจากอาการท้องอืดเฟ้อ และป้องกันหวัด ในพริกชี้ฟ้า ประกอบด้วย โปรตีน เส้นใยอาหาร วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 วิตามินซี แคลเซียม และธาตุเหล็ก
การนำไปใช้ พริกชี้ฟ้าแห้งมักใช้พริกสีแดงนำมาตากแห้ง โขลกใส่น้ำพริกแกงต่างๆ นำไปคั่วหรือเผาไฟให้หอมในต้มโคล้ง ต้มยำ พริกชี้ฟ้าสดมีสีเขียว สีแดง สีเหลือง ซึ่งมีเหลืองมีความเผ็ดมากกว่าสีอื่น จึงนิยมมาโขลกกับกระเทียมใส่ในผัดเผ็ด ส่วนสีแดงและสีเขียวนำมาหั่นแฉลบใส่ในแกงเผ็ด แกงเขียวหวาน ผัดพริก หรือหั่นเป็นแว่นใส่ในเครื่องจิ้มประเภทหลนและดองในน้ำส้มสายชูเป็นเครื่องปรุงรสก๋วยเตี๋ยว


พริกขี้หนู ( Bird Chilli)
สรรพคุณทางยา ช่วยย่อย ทำให้เจริญอาหาร ขับลมขับเหงื่อได้ดี ทำให้รูขุมขนสะอาด ผิวพรรณสดใส และมีสารต้านมะเร็ง ในพริกขี้หนูประกอบด้วยคาร์โบไฮเดรต โปรตีน เส้นใยอาหาร แคลเซียม ฟอสฟอรัส วิตามินเอ วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 วิตามินซี และธาตุเหล็ก
การนำไปใช้ พริกขี้หนูแห้งเป็นขี้หนูสดสีแดงที่ตากแดดจนแห้ง นำมาคั่วแล้วป่นเป็นพริกป่น หรือทอดเป็นเครื่องแนมขนมจีนน้ำพริก ยำ ลาบ ทางภาคใต้นิยมโขลกเป็นน้ำพริกแกง พริกขี้หนูสดใช้ทั้งสีแดงและสีเขียว ซอยหรือโขลกทำเป็นน้ำยำต่างๆ ใส่ในผัดกะเพรา ให้ความเผ็ดในต้มยำ ต้มแซบ หรือคั่วพอหอมบดผสมกับน้ำส้มสายชูเป็นเครื่องปรุงก๋วยเตี๋ยวเรือ

สมุนไพรรักษาสิว



หอมแดง (Shallot) มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Allium ascalonicum Linn। อยู่ในวงศ์ Amaryllidaceae ซึ่งเป็นวงศ์ใหญ่มีสมาชิกหลายร้อยชนิด เช่น หอมใหญ่ ต้นหอม หอมจีน กระเทียม กระเทียมใบ เป็นต้น
ในหัวหอมสดประกอบด้วยน้ำมันหอมระเหย (Vilatile Oil) ซึ่งประกอบด้วยไดอัลลิน ไตรซัลไฟต์ (Diallyn Trisulfide) เช่นเดียวกับที่พบในกระเทียม นอกจากนี้ยังมีฟลาโวนอยด์ (Flavonoid) ไกลโคไซด์ (Glycosides) เพคติน (Pectin) และกลูโคคินิน (Glucokinin)
ซึ่งสารเหล่านี้มีคุณสมบัติในการยับยั้งแบคทีเรีย ลดไขมันเส้นเลือดอันเป็นสาเหตุของโรคความดันโลหิตสูงและโรคหัวใจ ทำให้เจริญหาอาหารและช่วยย่อยอาหาร นอกจากนั้นยังพบอีกว่าในหัวหอมยังมีสารฟอสฟอรัสในปริมาณสูง ซึ่งจะช่วยให้ความจำดีอีกด้วย
วิธีทำ คือ ทุบหรือฝานหัวหอมแดงให้เป็นแว่นบาง ๆ ใช้ทาบริเวณที่เป็นสิว ฝ้า หรือ จุดด่างดำ ไม่กี่สัปดาห์ สิว ฝ้า หรือจุดด่างดำ ก็จะหายไป

สรรพคุณทางยา : หัวหอม มีรสฉุน ช่วยขับลม แก้ท้องอืด ช่วยย่อยและเจริญอาหาร แก้บวมน้ำ แก้อาการอักเสบต่าง ๆ ขับพยาธิ ช่วยให้ร่างกายอบอุ่น เมล็ด แก้อาเจียนเป็นเลือด แก้กินเนื้อสัตว์เป็นพิษ ร่างกายซุบผอม (ใช้เมล็ดแห้ง 5-10 กรัมต้มน้ำดื่ม) ตำรายาไทยใช้หัวหอมแดง ผสมรวมกับเหง้าเปราะหอมสุมหัวเด็ก แก้หวัดคัดจมูก และกินเป็นยาขับลม หอมแดงมีสารเคอร์ซิติน และสารฟลาโวนอยด์ (quercetin และ flavonoid glycosides) อาจป้องกันโรคมะเร็งได้
นอกจากนี้ หอมแดงยังมีคุณสมบัติ เป็นยารักษาโรค ใช้ลดไข้และรักษาแผลได้ โดยเอาหัวหอมแดงมาซอยเป็นแว่นๆ ผสมกับน้ำมันมะพร้าวและเกลือ ต้มให้เดือด แล้วนำมาพอกแผล นอกจากนั้นหอมแดง ยังช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด และยับยั้งเส้นเลือดอุดตัน ด้วยการบริโภคสด หรือประกอบอาหาร หรือบริโภคชนิดผง

ข้อควรระวัง : ถ้ากินหัวหอมจำนวนมากมายเป็นประจำ อาจทำให้หลงลืมง่าย ผมหงอก มีกลิ่นตัว ฟันเสีย ตาฝ้ามัว และประสาทเสียได้

สมุุนไพรรักษาสิว


สมุนไพรรักษาโรคผิวหนังอักเสบจากสิว
สิวเป็นโรคเรื้อรัง พบบ่อยมากเป็นอันดับต้นๆ ของปัญหาโรคผิวหนัง มักเป็นในวัยรุ่น แต่บางครั้งเลยวัยรุ่นไปแล้วก็อาจเป็นได้ ลักษณะที่บ่งบอกว่าเป็นสิวคือ เป็นเม็ดสิวอุดตันที่เรียกกันว่า คอมมิโดน ถ้าเป็นเม็ดนูนเล็กๆ ไม่มีรูเปิดเรียก สิวหัวขาว ถ้ามีรูเปิดที่ผิวหนังมองเห็นเป็นจุดดำอยู่ตรงกลางเรียกสิวหัวดำ นอกจากนี้อาจเกิดเป็นตุ่มนูนเล็กๆ แดงๆ อาจเห็นเป็นตุ่มหนอง ,หรือตุ่มนูนแข็งเม็ดโต หรือตุ่มแดงอักเสบแบบถุงซีสต์ที่เรียกกันว่า สิวหัวช้าง สิวที่สร้างความวิตกมากคือ สิวบริเวณใบหน้า ซึ่งเป็นบริเวณที่พบบ่อย ในบางรายอาจเกิดบริเวณ คอ , หลัง, อก, สาเหตุที่สำคัญอย่างหนึ่งคือ ฮอร์โมนเพศ เมื่อเข้าสู่วัยรุ่น ต่อมไขมันโตเต็มที่ผลิตน้ำมันมากขึ้น ท่อของต่อมไขมันหนาตัวมีการอุดตัน น้ำมันระบายออกไม่ได้คั่งค้างอยู่ภายใน เชื้อแบคทีเรียที่อยู่บริเวณนี้แบ่งตัวเพิ่มขึ้น ย่อยสลายไขมันทำให้เกิดความระคายเคือง และท่อต่อมไขมันแตกออก กรดไขมันออกสู่บริเวณข้างเคียงเกิดเป็นสิวอักเสบขึ้น ความรุนแรงของสิวแต่ละคนแตกต่างกันไป บางรายเป็นมากบางรายเป็นน้อย สิวอักเสบอาจกำเริบได้ในช่วงมีความเครียด เช่น อดนอน หรือในผู้หญิงช่วงใกล้มีประจำเดือน นอกจากนี้การบีบแกะสิว จะกระทบกระเทือนและนำเชื้อโรคเกิดการอักเสบมากขึ้น และมีโอกาสเกิดรอยแผลเป็นเมื่อสิวหายแล้ว
สิวแบ่งเป็น 2 ชนิด
1.สิวไม่อักเสบ เกิดจากการอุดตันของต่อมไขมัน (COMEDONE) แบ่งเป็น 2 ชนิด
1.1 สิวหัวปิด เห็นเป็นตุ่มเล็ก ๆ หัวขาว ๆ
1.2 สิวหัวเปิด หรือสิวหัวดำ
2.สิวอักเสบ คือสิวที่หัวแดง ๆ หรือ เป็นหนอง พวกนี้ก็คือ (COMEDONE) ที่มีการติดเชื้อ(BACTERIA) แทรกซ้อน
ดังนั้น ถ้าเป็นสิวอักเสบ การทำความสะอาด ใบหน้าด้วยสบู่อ่อน ๆ และการป้องกันไม่ให้มีการอุดตันที่รูขุมขน (COMEDONE) โดยการใช้น้ำเปล่าล้างหน้าในตอนกลางวัน ก็พอจะช่วยให้สิวลดลงหรือป้องกันไม่ให้สิวใหม่เกิดขึ้น แต่ถ้าเป็นสิวอักเสบ คงต้องปรึกษาแพทย์ เพราะต้องใช้ปฏิชีวนะ (กินหรือทาแล้วแต่ความรุนแรงของสิว)
สิวอักเสบควรจะต้องรีบรักษา ถ้าไปแกะหรือบีบหนองออก จะเป็นรอยแผลเป็น บุ๋มตลอดไป รักษายากมาก
การนอนดึกทำให้สิวเพิ่มขึ้น ได้ ส่วนใหญ่จะเป็นสิวอักเสบ อาจเป็นเพราะ
1.ร่างกายอ่อนแอ เชื้อ Becteria ในสิวทำให้มีการอักเสบมากขึ้น
2.Hormone เปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะใน ผู้หญิง ตัวอย่างเช่น บางคนประจำเดือน หรือขณะตั้งครรภ์
จะมีสิวเพิ่มขึ้น

สมุนไพรที่ใช้รักษาสิวได้แก่

ว่านหางจระเข้
วิธีใช้ ล้างหน้าเช็ดให้แห้งด้วยผ้าสะอาด ใช้วุ้นจากใบสดทาบริเวณที่มีอาการ วันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น ปล่อยให้แห้งโดยไม่ต้องล้างออก
ข้อควรระวัง ต้องล้างยางสีเหลืองจากขอบใบออกให้หมดก่อนใช้ เนื่องจากมีฤทธิ์ระคายเคืองมาก อาจทำให้เกิดการแพ้ สำหรับผู้ที่ผิวแพ้ง่าย อาจทดลองทาวุ้นบริเวณท้องแขนดูก่อน หากมีผื่นแดงหรือคันไม่ควรใช้ทาหน้า


เปลือกมังคุดบดผง 100%

สรรพคุณที่โดดเด่นของเปลือกมังคุดที่เรารู้จักใช้กันมานานคือการใช้เปลือกมังคุดในการรักษาโรคผิว สิวต่างๆ บรรเทาอาการผดผื่น โดยใช้เปลือกมังคุดแห้งมาต้มน้ำอาบ หรือใช้น้ำต้มเปลือกมังคุดทาบริเวณที่มีอาการ และด้วยคุณสมบัติดังกล่าวนี้เอง เปลือกมังคุดจึงถูกดึงมาเป็นส่วนผสมของผลิตภัณฑ์หลากหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็น สบู่ที่ช่วยบรรเทาโรคผิวหนัง สบู่รักษาสิวฝ้า ซึ่งเป็นที่นิยม จริงๆแล้วเปลือกมังคุดได้รับการพิสูจน์และยืนยัน จากการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ ค้นพบว่า รสฝาดในเปลือกมังคุดมีสารที่เรียกว่า แทนนิน(tannin)ซึ่งมีฤทธิ์สมานแผลช่วยให้แผลหายเร็วขึ้น สารแซนโทน(Xanthon)ช่วยยับยั้งเชื้อราที่เป็นสาเหตุของโรคผิวหนังได้ และสารที่มีชื่อเรียกเฉพาะชื่อเดียวกับมังคุดว่า แมงโกสติน (Mangostin) มีฤทธืช่วยลดการอักเสบ และต้านแบคทีเรียที่ทำให้เกิดหนอง
ผลวิจัยจะพบว่าเปลือกมังคุด เปลือกทับทิม มีสารต้านอนุมูลอิสระอยู่มาก มีคุณสมบัติการต้านอนุมูลอิสระที่เหมาะสมมากกว่าผลไม้ชนิดอื่นๆ และพบว่าเปลือกมังคุดประกอบด้วยสารธรรมชาติ GM-1 ซึ่งมี คุณสมบัติเด่น 4 ประการ คือ
1. ระงับการเจริญของเชื้อแบคทีเรียต้นเหตุสิว
2. ต้านการอักเสบ
3. ต้านอนุมูลอิสระ
4. ช่วยสมานผิว กระชับรูขุมขน

วิธีใช้ ใช้ ผสมน้ำเปล่าเท่านั้นอย่าให้ข้นหรือใสเกินไป พอกหน้าจนแห้งแล้วล้างออก หรือแต้มหัวสิวหนอง ยุบทันใจใน1-2วัน


บัวบกบดผง100%


ผลจากงานวิจัยสกัดสารต้านสิว ในบัวบกมีกลุ่มสารสำคัญจำพวกไตรเทอร์ปีน และกลัยโคไซด์ของไตรเทอร์ปีน ซึ่งเป็นสมุนไพรที่มีผลการวิจัยรองรับมาก มาย ทั้งการศึกษาในสัตว์ ทดลองและในคน โดยพบว่าสารในบัวบกมีฤทธิ์ในการรักษาแผลกระตุ้น การสร้าง collagen เร่งขบวนการสร้างเนื้อเยื่อใหม่ จึงช่วยเร่งให้แผลหายเร็วขึ้น และมีประโยชน์ในการรักษาแผลเป็นและ keloid โดยสามารถลดการเกิดfibrosis จึงช่วยป้องกันการเกิดแผลเป็นได้
สารสกัดบัวบกยังมีฤทธิ์ต้านการอักเสบและต้านอาการแพ้ จึงช่วยบรรเทาอาการเจ็บปวดหรืออักเสบ เนื่องจากแมลงกัดต่อย และลดอาการข้ออักเสบในคนไข้ได้อีกด้วย จากผลการทดลองใช้ครีมบัวบกทาแผลอักเสบหลังผ่าตัด พบว่าช่วยให้แผลหายเร็วขึ้น
นอกจากนี้ ยังมีฤทธิ์ต้านจุลินทรีย์ สารสกัดน้ำบัวบกมีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อ S.aureus และเชื้ออื่นๆ ที่เป็นสาเหตุของการเกิดหนองได้ โดยผลต่อการเรียนรู้สารสกัดน้ำของบัวบก ขนาด 200 มก./กก. สามารถทำให้การเรียนรู้และความจำของหนูทดลองดีขึ้น ทั้งยังพบว่าสารสกัดบัวบกช่วยเพิ่มความสามารถ ในการเรียนรู้ของหนูที่มีอาการอัลไซเมอร์ได้
จากการวิจัยของ รศ.ดร.วันดี กฤษณพันธ์ อาจารย์คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พบว่าบัวบกชนิดก้านขาว ให้สารสกัดน้อยกว่าบัวบก ชนิดก้านแดง โดยบัวบกทั้งสองชนิด ประกอบด้วยสารสำคัญ asiaticoside และสารอื่นๆ ไม่แตกต่างกัน ไม่เพียงเท่านั้น ยังได้ศึกษาวิจัยการ นำสารสกัดบัวบกมาผลิต เป็นผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางหลายชนิด
โดยพบว่าผลิตภัณฑ์ที่ผสมสารสกัดบัวบก ในปริมาณที่เหมาะสม จะช่วยในการสมานผิว ป้องกันรอยแผลเป็น ช่วยลดความหยาบกร้านของผิว และลดการสะสมของแบคทีเรียได้อย่างดี บัวบกที่มีฤิทธิ์ฆ่าเชื้อ เมื่อใช้แต้มหัวสิว จากการทดลองในกลุ่มตัวอย่าง พบว่าทำให้สิวแห้งและหายเร็วขึ้นอย่างไม่น่าเชื่อ
วิธีใช้ นำมาผสมน้ำสะอาด พอกหน้าแห้งแล้วล้างออก




ทนาคา100%

" ทนาคา" พาสวยด้วยสมุนไพรสืบตำนานโบราณ... เน้นงามแบบผิวพม่าฯ
ถ้าเป็นสมุนไพรไทยที่เกี่ยวกับผิวพรรณละก็ต้องนี่เลย "ขมิ้นชัน" แต่ถ้าเป็นสมุนไพรเคล็ดลับผิวสวยของพม่าก็ต้อง "ทนาคา" หรือ "กระแจะ" ไม้ยืนต้นขนาดเล็กที่เวลานี้ถูกนำมาเป็นส่วนผสม ในผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางหลายหลาก เนื่องจากเป็นที่ทราบกันดีว่า "ไม้ทนาคา" นั้น พม่าใช้ฝนกับหินผสมกับน้ำ ใช้ประทินผิวมาแต่โบราณ จนมีสำนวนเปรียบเทียบว่า "ผิวพม่านัยน์ตาแขก"ผิวสาวพม่าส่วนใหญ่จึงสวย เนียน และผิวค่อนข้างละเอียด เนื้อไม้ทนาคา ซึ่งเป็นสมุนไพรที่พบได้มาก จากทางฝั่งพม่า เมื่อตากแห้งสนิทและนำมาบดผงแล้วสามารถนำมาผสมทำครีมพอกหน้าได้อย่างวิเศษ สามารถผสม
*น้ำผึ้ง(สำหรับคนผิวแห้ง)
*น้ำมะขามเปียก(สำหรับผิวที่ด่างดำ)
*ขมิ้นชัน(สำหรับผิวที่มีสิว)
*นมสดรสจืด(สำหรับผิวที่ต้องการความนุ่มเนียน)
*โยเกิร์ต (สำหรับผิวที่ต้องการความนุ่มและใส)
เมื่อบดผสมจนเข้าเป็นเนื้อเดียวกันแล้ว ก็จะได้ครีมสำหรับพอกหน้าที่มีเนื้อสัมผัสไม่ถึงกับละเอียดนัก ทั้งนี้ เพื่อช่วยผลัดเซลล์ผิวที่ตายแล้วให้หลุดออกเผยผิวใหม่ เนื้อครีมอุดมไปด้วยสมุนไพร ที่มีสรรพคุณช่วยประทินผิว มีกลิ่นหอมสมุนไพรธรรมชาติ (ไม่แต่งกลิ่น) และไม่มีสารที่เป็นอันตรายต่อผิว"

วิธีใช้ เพียงนำครีมผสมให้ข้น(ผสมครั้งต่อครั้ง ห้ามผสมทิ้งไว้) มาพอกทิ้งไว้ประมาณ 30 นาที แห้งแล้วใช้มือขัดออก ทำทุกวันก่อนอาบน้ำ แค่สัปดาห์เดียวจะรู้สึกว่าผิวหน้า ที่แห้งหยาบกร้าน กลับมาชุ่มชื้นมีน้ำมีนวล และดูเนียนขึ้น รูขุมขนกระชับขึ้น ส่วนริ้วรอยจากฝ้า หรือกระ ที่มีอยู่จะค่อยๆ จางลง
*นี่คือภูมิปัญญาจากสมุนไพรพื้นบ้าน ที่สามารถแต่งเติม ความงามได้ไม่แพ้ครีมของนอก หรืออีกนัย ถ้าคุณได้ลองอาจจะดีกว่าของนอก ถูกกับผิวชาวเอเชียอย่างเรามากกว่าด้วยซ้ำค่ะ*
ข้อมูล ความมหัศจรรย์ของทนาคา จากไทยรัฐ ฉบับวันที่ 21มค।48 หน้า7




โคลน100%

ลีกลงไปในใต้พื้นพิภพปฐพี ลี้ลับด้วยทะเลสาบใต้ดินที่แท้คือสายน้ำแร่อันทรงคุณค่าที่มนุษย์ค้นหา และพบว่าตะกอนโคลนที่ปนเปื้อนมากับน้ำใต้พิภพนั้นช่วยสร้างสรรค์ผิวพรรณให้ผุดผ่อง และช่วยการหมุนเวียนของโลหิตให้ชีวิตสดใสใครเลยจะรู้ว่า ทั้งปฐพีมีแหล่งโคลนเช่นนี้อยู่เพียงสามแห่งเท่านั้นในโลก และหนึ่งในสามแหล่งนั้น นั่นคือ ภูโคลน แหล่งโคลนสุขภาพของเมืองไทย...ภูโคลน จ.แม่ฮ่องสอน

จากแหล่งโคลนสุขภาพของเมืองไทย ภูโคลน สู่ผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพและความงามจากธรรมชาติสำหรับคุณ ภูโคลนคือแหล่งน้ำแร่และโคลนธรรมชาติ ที่มาจากสายน้ำแร่ใต้พื้นดินที่มีความร้อนตั้งแต่ 60-140 องศาเซลเซียส เป็นโคลนเดือดบริสุทธิ์สีดำที่ขึ้นมาพร้อมกับสายน้ำแร่ธรรมชาติที่สะอาดไม่มีกลิ่นของกำมะถันซึ่งอุดมไปด้วยแร่ธาตุที่เป็นประโยชน์ต่อผิวหนัง และระบบไหลเวียนโลหิตของมนุษย์

คุณสมบัติ
โคลนสุขภาพ ใช้เพื่อผิวพรรณที่สะอาดใส เนียนนุ่ม
โดยมีคุณสมบัติสามารถดูดซับความมันส่วนเกินและสิ่งสกปรก
ที่ติดตามรูขุมขนอันเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิด สิว สิวเสี้ยน และริ้วรอยหมองคล้ำ
อีกทั้งส่วนผสมของแร่ธาตุที่สำคัญยังเป็นอาหารบำรุงเซลล์ผิว
และช่วยกระตุ้นให้เซลส์ผิวทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ เมื่อหน้าไม่มันปัญ

รายละเอียด คำแนะนำและวิธีใช้
โคลนสุขภาพ เพื่อผิวพรรณสะอาดใส เนียนนุ่มและคงความชุ่มชื้นของสภาพผิวสู่สมดุลธรรมชาติ และยังสามารถดูดซับความมันส่วนเกินและสิ่งสกปรกที่ติดตามรูขุมขนอันเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดสิวเสี้ยนและสิวอักเสบต่างๆ และริ้วรอยหมองคล้ำอีกทั้งส่วนผสมของแร่ธาตุที่สำคัญยังเป็นอาหารบำรุงเซลส์ผิวและช่วยกระตุ้นเซลส์ผิวทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ

โคลนสุขภาพ ผลิตจากวัตถุดิบธรรมชาติ 100%ไม่มีส่วนผสมหรือแต่งเติมสารสังเคราะห์ของสารเคมีใดๆ จึงเหมาะกับทุกสภาพผิว

วิธีใช้
1. เตรียมส่วนผสมโคลน ลาโบเต้ 1 ช้อนชา เตรียมโยเกิร์ตรสธรรมชาติไม่มีผลไม้เจือปน 2 - 3 ช้อนชา นำโคลน ลาโบเต้ ผสมกับโยเกิตคนให้เข้ากัน (อาจใช้สมุนไพรไทย นำผึ้ง มะนาว หรือผักผลไม้ ปั่นเช่น แครอท ว่านหางจระเข้ ,แตงกวา )
2. ล้างหน้าด้วยน้ำสะอาด เช็ดให้แห้ง แล้วนำโคลน ที่ผสมไว้ทาให้ทั่วบริเวณใบหน้าทิ้งไว้ให้แห้งนานประมาณ 15 – 20 นาที
3. ล้างออกด้วยน้ำสะอาด
**สำหรับผิวแห้งควรใช้เฉพาะโยเกิตพอกหน้าอีกครั้งทิ้งไว้นานประมาณ 10 –15นาที
4.ล้างออกด้วยน้ำสะอาดเช็ดให้แห้งเพื่อประสิทธิภาพสูงสุดควรใช้น้ำแร่ธรรมชาติ ลาโบเต้เพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นและปรับสภาพความสมดุลของผิว

คำแนะนำการใช้

ผิวหน้าที่มีสภาพมันควรใช้ผลิตภัณฑ์ สัปดาห์ละ 2 ครั้ง
ผิวหน้าที่มีสภาพปกติควรใช้ผลิตภัณฑ์ สัปดาห์ละ 1 ครั้ง
ผิวหน้าที่มีสภาพแห้งควรใช้ผลิตภัณฑ์ 2 สัปดาห์ต่อ 1 ครั้ง


ว่านนางคำ100%




ว่านนางคำ มีชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Curcuma amada (aromatica) หัวว่านมีสีเหลืองเข้ม กลิ่นหอม เป็นสมุนไพรตัวหนึ่งของต้นตำรับความงามโบราณ มีเรื่องเล่ากันว่า "พระนางคลีโอพัตรา" ใช้ว่านนางคำเป็นตัวช่วยประทินผิวให้งดงามอยู่ตลอดเวลา ในหัวว่านนางคำมีสาร curcumin และวิตามินหลายชนิด ช่วยบำรุงผิว ป้องกันเม็ดผดผื่น ช่วยทำสะอาดผิวกาย ลดรอยตกกระและจุดด่างดำ เนียนนุ่ม รักษาผดผื่นคัน และรักษาอาการคันจากการแพ้ตามร่างกายรักษาผิวพรรณให้ดูผุดผ่องสวยงามดี รักษาโรคผิวหนัง

ว่านนางคำจัดเป็นว่านหลักที่นักเล่นว่านสมัยโบราณมักมีไว้ประจำครัวเรือนเสมอเนื่องจากเป็นว่านที่มีอิทธิคุณสูง และสรรพคุณทางยาก็สามารถใช้ได้มากมายอีกด้วยที่สำคัญว่านนางคำเป็นว่านที่สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสีท่านมักใช้อยู่เป็นประจำ โดยเมื่อเวลาที่ท่านสรงน้ำเสร็จท่านก็จะนำว่านนางคำมาทาศรีษะและตามร่างกายท่านมักทำเช่นนี้จนเป็นกิจวัตรจนเรื่องถึงพระเนตรพระกรรณ์ของล้นเกล้ารัชกาลที่ ๔ และพระองค์ทรงตรัสสรรพยอกว่า “หัวเหลือง” สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต)ท่านอาจเล็งเห็นถึงคุณวิเศษที่มีอยู่ในว่านชนิดนี้ก็เป็นได้ถึงได้นำมาใช้อยู่เสมอๆ

ลักษณะของว่านนางคำจัดอยู่ในตระกูลวงศ์ขิง (Zingiberaceae) แต่มีบางท่านว่าว่านนางคำอยู่ในตระกูลพุทธรักษา ซึ่งอาจเป็นการเข้าใจผิดโดยอาจใช้มติของตัวเอง แล้วสรุปเอาตามความเข้าใจจึงขอบอกกล่าวกันไว้เพื่อป้องกันการสับสนครับ ลักษณะหัวเป็นแง่งกลมอวบใหญ่เนื้อในหัวสีเหลืองจัด มีกลิ่นหอมเย็น รสฝาดลำต้นมีลักษณะเป็นกาบใหญ่หุ้มรัดเป็นลำค่อนข้างแบนสีเขียว ก้านใบยาวแข็งใบใหญ่สีเขียวเข้ม เส้นแขนงนูนถี่เห็นได้ชัด โคนใบมน ปลายใบเรียวแหลมกระดูกและขอบใบสีแดงเรื่อๆ เฉพาะใบแก่ เป็นพืชล้มลุกเจริญในฤดูฝนและทิ้งใบฝังหัวในฤดูแล้ง

การเลี้ยงว่านต้องเข้าใจถึงธรรมชาติของว่านด้วยในกรณีของว่านที่ทิ้งใบฝังหัวเมื่อพ้นหน้าฝนนั้น หลายท่านไม่เข้าใจคิดว่าว่านตายก็นำหัวไปทิ้ง ซึ่งถ้าว่านฝังหัวก็ไม่ต้องตกใจจากเดิมการรดน้ำในตอนที่ว่านมีใบนั้นให้รดจนชุ่มแต่ถ้าทิ้งใบเหลือแต่หัวการรดน้ำต้องรดเพียงแค่หมาดๆ หากไปรดมากๆเหมือนตอนมีใบก็อาจทำให้หัวว่านเน่าได้ครับ

ในตำราของอาจารย์หล่อขันแก้ว ปรมาจารย์แห่งวงการว่านไทยท่านกล่าวไว้ว่าว่านนางคำนั้นมี ๓ ชนิดคือ
ชนิดที่ ๑มีลักษณะ ลำต้นแดง ก้านใบแดง ใบเรียวสีเขียว หัวมีเนื้อเป็นสีเหลืองดังหัวขมิ้นเน่า
ชนิดที่ ๒มีลักษณะ ลำต้นเขียว ใบเขียวเนื้อในหัวมีสีขาว
ชนิดที่ ๓ต้นเขียว กลางใบแดงเนื้อในหัวมีสีเหลืองเข้ม มีกลิ่นหอม รสฝาด ใบโตขนาดใบว่านคันทมาลาในชนิดหลังนี้หาง่าย เป็นที่นิยมมีปลูกกันทั่วไปเป็นชนิดที่แพทย์แผนโบราณนำมาเป็นยา

ประโยชน์ผู้รู้แต่โบราณนับถือกันมากว่า ว่านนางคำถือเป็นพญาว่านต้นหนึ่งเช่นกันเนื่องจากสามารถคุ้มครองและแก้พิษว่านทั้งปวงได้ทั้งยังเป็นว่านที่ปลูกไว้ประจำบ้าน จะเป็นเสน่ห์เมตตามหานิยมแก่คนที่อยู่ในบ้านนั้น

ทางเภสัชมักนิยมใช้หัวสดตำให้ละเอียดผสมสุราโรง๔๐ ดีกรี พอกแก้ฟกช้ำ เคล็ดขัดยอก โรคเม็ดผดผื่นคันตามร่างกายมีบางตำราท่านว่านำหัวสดโขลกแช่กับน้ำมันเบนซินผสมการบูรเล็กน้อยทาแก้ฟกช้ำหรือปวดเมื่อยตามร่างกาย แต่ประเด็นหลังนี้ไม่ขอแนะนำครับเพราะผิวหนังอาจเกิดอาการแพ้น้ำมันได้ หรือหากใช้แก้อาการปวดท้อง ถ่ายท้องให้ใช้หัวสดฝนกับน้ำปูนใสกินอาการดังกล่าวจะทุเลาลง หรือจะกินหัวสดๆกับเหล้าขาวก็ได้เช่นเดียวกัน รากใช้เป็นยาขับเสมหะและใช้เป็นยาสมาน แก้โรคท้องร่วงโรคหนองในเรื้อรัง และว่านนางคำสามารถนำมาปรุงเข้ากับยาสมุนไพรอื่นๆ ได้ปัจจุบันตามร้านขายยาแผนโบราณยังคงใช้เป็นตัวยารักษาโรคเช่นเดิมสรรพคุณทางยาที่ได้กล่าวไปทั้งหมดหากท่านใดต้องการใช้ต้องปรึกษากับเภสัชกรแผนโบราณเสียก่อนนะครับเดี๋ยวจะหาว่าไม่เตือน

วิธีใช้ สำหรับผิวหน้าและผิวกาย ใช้ขัดและพอกผิวโดยผสมกับน้ำ หรือถ้าจะให้ได้ผลดี ควรผสมกับนม หรือโยเกิร์ต กับน้ำผึ้ง จะช่วยทำให้ผิวนุ่มเนียน สวยยิ่งขึ้น

ยาอายุวัฒนะ

โบราณแนะนำให้ รู้จักกิน รู้จักนอนแต่หัวค่ำ ฝึกขับถ่ายทุกวัน ฝึกใจไม่โลภไม่โกรธเรียนรู้ทำใจให้สงบเย็น และต้องทำงานให้เป็นประโยชน์ด้วย แต่ก่อนไม่ต้องแนะให้คนออกกำลังกายเพราะอาชีพการงาน และการเดินทางของคนเราได้ออกแรงเหมือนออกกำลังกายให้ร่างกายแข็งแรงอยู่แล้ว แต่ทุกวันนี้ เราต้องเสริมสุขภาพด้วยการออกกำลังกายเป็นประจำเพราะวิถีชีวิตเปลี่ยนไป
นอกจากปฏิบัติตัวตามวิถีดั้งเดิมที่ช่วยสร้างสุขภาพที่ดีแล้ว คนโบราณมักมีตำรับยาอายุวัฒนะ หมายถึงกินแล้วร่างกายมีความสมดุล แข็งแรง มีความพร้อมไว้ต้านทานโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ ยกตัวอย่างให้ทำกินใช้เองได้ ดังนี้

ตำรับที่ ๑ ตัวยาประกอบด้วย กล้วยน้ำว้าสุก โบราณท่านว่าให้ใช้จำนวนเท่ากับอายุผู้กิน และน้ำผึ้ง หาน้ำผึ้งแท้จากป่าธรรมชาติยิ่งดี วิธีทำ เลือกกล้วยน้ำว้าไม่สุกไม่ดิบ ปอกเปลือกออก แช่น้ำผึ้งในขวดโหลนาน สัก ๒ สัปดาห์ เคล็ดลับ อย่าปิดฝาโหล ให้ใช้ผ้าขาวบางปิดเพื่อกันฝุ่นและแมลงลงไป ถ้าปิดฝาสนิท จะทำให้เกิดการหมัก คล้ายการหมักผลไม้เพื่อทำไวน์ จะทำให้น้ำผึ้งมีรสเปรี้ยว

วิธีรับประทาน ให้กินทุกวันๆ วัน ๑ ลูก โบราณท่านแนะว่า โดยเฉพาะผู้สูงอายุ กินแล้วทำให้ผิวพรรณผ่องใส ขับถ่ายคล่อง และมักมีคนสงสัยว่า กล้วยดองน้ำผึ้งนี้กินเฉพาะกล้วย หรือกินน้ำผึ้งที่แช่ในโหลได้ด้วย คำตอบคือ จะกินน้ำผึ้งด้วยวันละ ๑ ช้อนชาก็ไม่ผิดกติกาอะไร


ตำรับที่ ๒ ตัวยานี้เป็นที่กล่าวขานกันในวงการสมุนไพรแต่เดิมว่าเป็นตำรับยาบำรุง แต่แนะนำไว้ให้ใช้เฉพาะผู้ที่มีอายุเกิน ๔๐ ปีไปแล้ว ไม่แนะนำให้บำรุงกับวัยรุ่นหนุ่มสาว เนื่องจากตัวยามีคุณลักษณะเป็นยาร้อน คนหนุ่มสาวกินก่อนวัย กลับทำให้ร่างกายร้อนเผาผลาญมากไป อาจแก่เร็วกว่าวัยได้ ตัวยา ประกอบด้วย
ต้นเหงือกปลาหมอ ๒ ส่วน พริกไทย ๑ ส่วน

วิธีใช้ ให้นำตัวยาทั้งสอง ตากแดดให้แห้ง นำมาบดเป็นผง และละลายกินกับน้ำหรือละลายผสมกับน้ำผึ้ง กินครั้งๆละ ๑ ช้อนชา เช้า -เย็น กินทุกวัน ต่อเนื่องสัก ๑-๒ เดือน

ตำรับที่ ๓ ตำรับนี้เป็นตำรายาคลาสสิก กล่าวไว้ในตำราการแพทย์แผนไทย ที่ช่วยบำรุงธาตุในร่างกายมนุษย์ให้สมดุล เหมือนเป็นยาอายุวัฒนะอย่างดีเมื่อร่างกายมีความสมดุลนั่นเอง ตัวยาประกอบด้วย ๕ ชนิด ๑। ผลดีปลี ๒। รากชะพลู ๓। เถาสะค้าน ๔। รากเจตมูลเพลิงแดง ๕। เหง้าขิง ใช้น้ำหนักอย่างละเท่ากัน วิธีทำ ให้ใส่น้ำให้ท่วมยา ต้มให้เดือดนานประมาณ ๑๐ นาทีพอ ไม่ควรต้มนานเกินไป เพราะจะเป็นการต้มเคี่ยว ทำให้ตัวยาออกฤทธิ์รสร้อนมากเกินไป ต้มกินเป็นยาบำรุงธาตุ
วิธีรับประทาน
กินครั้งละครึ่งแก้วถึงหนึ่งแก้ว วันละ ๓ เวลา ก่อนอาหาร
ตำรับที่ ๔ อันนี้ของดั่งเดิมแท้ เป็นตำรับยาที่กล่าวไว้เป็นปริศนา มีการบอกต่อเรียนรู้สำหรับคนในแวดวงสมุนไพร หรือในหมู่ศิษย์อาจารย์จึงสามารถถอดรหัสตำรับยาอายุวัฒนะนี้ได้ ท่านกล่าวไว้ว่า “ผึ้งอากาศ พาดยอดไม้ หงายธรณี ลูกทาส ลูกไทย พญาช้างดำ พระยาช้างเผือก บวชหนีสงสาร ไปนิพพานไม่กลับ”
นั่นก็คือ
ผึ้งอากาศ คือน้ำผึ้ง
พาดยอดไม้ คือเถาบอระเพ็ด
หงายธรณี คือหญ้าแห้วหมู
ลูกทาส คือเม็ดข่อย
ลูกไทย คือพริกไทย
พญาช้างดำ คือเปลือกตะโกนา
พระยาช้างเผือก คือเปลือกถ่อน(ต้นทิ้งถ่อน)
บวชหนีสงสาร คือขมิ้นหัวขึ้น(ขมิ้นอ้อย)
ไปนิพพานไม่กลับ คือผักเสี้ยนผี
วิธีทำ นำตัวยาทั้งหมดมาอย่างละเท่าๆ กัน ตากแห้งแล้วบดเป็นผง ปั้นผสมน้ำผึ้งเป็นเม็ดลูกกลอน ขนาดเท่าเม็ดพุทรา แล้วตากให้แห้งจึงเก็บได้นาน กินครั้งละ ๑-๒ เม็ด วันละ ๑-๒ ครั้ง คือ เช้าและเย็น หรือก่อนนอน กินทุกวัน นานสัก ๑-๒ เดือน
ยังมีตำรับยาโบราณที่น่าสนใจ เกี่ยวกับการบำรุงร่างกายให้แข็งแรง เพื่อเตรียมรับกับโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ แต่ที่ยกตัวอย่างตำรับยาสุดท้าย เพราะคนโบราณท่านเห็นชีวิตเกี่ยวเนื่องกับธรรมะ และรู้ว่านิพพานไปถึงได้ ไปแล้วไม่กลับมาทุกข์อีก เป็นข้อเตือนใจให้ดำรงชีวิตด้วยความไม่ประมาทในสถานการณ์โรคระบาดต่างๆ
ทุกวันนี้ เรากำลังเผชิญวิกฤตมากมาย ถ้าลองไปนิพพานแบบชิมลอง เหมือนท่านอาจารย์พุทธทาสกล่าวไว้ว่า นิพพานอยู่แค่ปลายจมูก น่าจะทำให้เราสงบเย็น มีสติ และเรียนรู้การใช้ชีวิต การใช้สมุนไพรให้ถูกที่ถูกทางเพื่อสุขภาพของเราทุกคน.

วันเสาร์ที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2554

บุก



ต้นบุก หรือ Konjac ต้นไม้ประเภท Amorphophallus เหมือนกับบุกไทยที่เรานำต้นมาแกงส้ม ลวกจิ้มนำพริก หรือเอาหัวมาฝานเป็นแผ่นไว้นึ่งหรือย่างไฟกินเป็น " ขนมบุก "นั่นเอง


ชื่อวิทยาศาสตร์ : Amorphophallus mulleri Blume
มีชื่อพ้อง 2 ชื่อ : Amorphophallus oncophyllus Prain
: Amorphophallus burmanicus Hook.f.
ในปัจจุบัน บุกเป็นสมุนไพรที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจเป็นอย่างมาก และได้รับการส่งเสริมให้มีการปลูกในโครงการภายใต้มูลนิธิหลวง มีผลิตภัณฑ์จากบุกเพื่อลดความอ้วนในชื่อการค้าต่างๆมากมายในท้องตลาด นอกจากสมุนไพรชนิดนี้จะมีคุณสมบัติในการลดความอ้วนแล้ว ยังสามารถลดไขมันในเลือดและในตับ และลดน้ำตาลในเลือดได้อีกด้วย
บุก (Amorphophallus spp.) มีถิ่นกำเนิดตั้งแต่ทางตะวันออกของเทือกเขาหิมาลัยไปจนถึงประเทศจีน ญี่ปุ่น และทางใต้ไปถึงประเทศไทย อินโดจีน และฟิลิปปินส์ เป็นพืชที่พบในป่าซึ่งมีการระบายน้ำได้ดีและอุดมสมบูรณ์ มีลักษณะเป็นไม้เนื้ออ่อนที่มีหัวอยู่ใต้ดิน โดยปกติจะมีใบเพียงใบเดียวซึ่งมีลักษณะใหญ่มาก ก้านใบยาว ดอกแทงขึ้นมาจากใต้ดิน มีทั้งหมดประมาณ 90 ชนิด
บุกเป็นอาหารสมุนไพรที่รู้จักกันดีในญี่ปุ่น โดยมีชื่อทั่วไปว่า Konjac เป็นพืชที่มีชื่อพฤกษศาสตร์ว่า Amorphophallus konjac C। Koch หรือ A। rivieri Durien ญี่ปุ่นใช้แป้งจากบุกทำเป็นอาหารเพื่อสุขภาพ โดยทำเป็นก๋วยเตี๋ยวหรือขนม ซึ่งสามารถลดความอ้วนได้เพราะไม่ให้พลังงานเนื่องจากไม่ถูกย่อย จึงไม่ถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกาย แต่จะขับถ่ายออกมาในรูปเดิม เพียงแต่ทำให้อิ่มเท่านั้น และมีความเชื่อว่าแป้งบุกช่วยทำความสะอาดลำไส้ด้วย มีการสั่งซื้อหัวบุกจากประเทศไทยไปทำวิจัยและทำเป็นอาหารสมุนไพรกันมาก
ในประเทศไทยมีบุกอยู่หลายชนิดด้วยกัน นักพฤกษศาสตร์ชาวฝรั่งเศสชื่อ Francois Gagnepain ได้ทำการศึกษาและพบว่ามีอยู่อย่างน้อย 15 ชนิด เป็นชนิดที่พบใหม่หลายชนิด จึงได้ให้ชื่อทางพฤกษศาสตร์ตามสถานที่พบ เช่น บุกหัวช้าง A. koratensis Gagnep. พบที่โคราช, บุกรอ A. saraburiensis Gagnep. พบที่สระบุรี และบุกก้านโคยงัว A. xiengraiensis Gagnep. พบที่เชียงราย เป็นต้น เท่าที่ได้มีการวิจัยหัวบุกในประเทศไทยจำนวน 7 พันธุ์ คือ บุกคางคก (บุกป่า) A. rex , บุกบ้าน A. campanulatus , บุกด่าง A. kerrii , บุกเขา A. corrugatus , บุก A. oncophyllus , บุกเตียง A. longituberosus และ A. rivieri พบว่ามีเพียง 4 ชนิดที่มีสารสำคัญที่เป็นที่ต้องการทางการค้า คือ กลูโคแมนแนน (glucomannan) ได้แก่
1. บุก (A. oncophyllus Prain ex Hook.f.) เป็นบุกชนิดที่มีหัวเป็นบัลบิล (bulbil) ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 25 ซม. ใบใหญ่ 1 เมตร ก้านใบยาว 90 ซม. หนา 2.5 ซม. ช่อดอกยาว 20 ซม. มีกาบหุ้ม บุกชนิดนี้มีความแตกต่างจากชนิดอื่นตรงที่รูปร่างของหัวมีลักษณะกลม-แบน มีรูตรงกลาง หัวสดมีสีเหลืองอมชมพู และขาวเหลือง นิ่มและฉ่ำน้ำ ก้านใบมีสีต่างๆคือ เขียว เขียวมีจุดขาว เขียวทางขาว และเขียวปนอมชมพู และมี บัลบิลบนใบ พันธุ์นี้มีปริมาณกลูโคแมนแนนสูงมาก พบทางตะวันตกของประเทศ เช่น กาญจนบุรี, กำแพงเพชร, ตาก และภาคเหนือ เช่น เชียงใหม่และพะเยา
2. บุกด่าง (A. kerrii N.E. Br.) ก้านใบสีเขียวเข้มมีจุดขาว ยาว 1 เมตร ใบเป็นแฉกยาว 15 - 22 ซม. กว้าง 5 - 7 ซม. ช่อดอกยาว 15 - 30 ซม. กว้าง 7 - 11 ซม. บุกด่างจะต่างกับบุกชนิดอื่นที่รูปร่างของหัวซึ่งกลมขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 9.5 - 15 ซม. มีผิวขรุขระสีน้ำตาล เนื้อหัวสดมีสีเหลือง เหลืองสดหรือขาว พบแถบน่าน เชียงใหม่ เลย และกาญจนบุรี หรือที่มีระดับความสูง 1,200 - 1,500 ม. เหนือระดับน้ำทะเล พบมีกลูโคแมนแนน แต่น้อยกว่าในบุก (A.oncophyllus)
3. บุกเขา (A. corrugatus N.E. Br.) เป็นบุกที่ต่างจากพันธุ์อื่นตรงที่มีใบแยกเป็นหลายส่วน โดยมากมี 7 ส่วน สีน้ำเงินอมเขียว ขอบใบสีชมพู กาบหุ้มช่อดอกเป็นรูปกระดิ่งยาว 7 - 17 ซม. กว้าง 3 - 7 ซม. เมื่อยังอ่อนอยู่จะมีกลูโคแมนแนน
4. บุก (A. rivieri Durien) เป็นบุกพันธุ์เดียวกับที่ใช้ในญี่ปุ่น


สารสำคัญ
มีการศึกษาและค้นพบสารสำคัญในพืชสกุลบุก คือ กลูโคแมนแนน ตั้งแต่ปี ค।ศ. 1930 กลูโคแมนแนนเป็นสารประกอบคาร์โบไฮเดรต ซึ่งประกอบด้วยกลูโคส แมนโนส และฟรุคโตส มีผู้พบว่าอัตราส่วนของแมนแนน : กลูโคส = 2 : 1 มีการเชื่อมต่อของน้ำตาลเป็น b-D type เมื่อทดลองย่อยกลูโคแมนแนนด้วยเอ็นซัยม์ cellulase จะได้ กลูโคส-แมนโนส (1 : 1.6) เซลโลไบโอส อิพิเซลโลไบโอส และอิพิเซลโลไบโอซีลแมนโนส และถ้าทดลองย่อยด้วยเอ็นซัยม์ b-mannase จะได้ไดแซคคาไรด์ 13 ชนิด และโอลิโกแซคคาไรด์ นอกจากนี้ยังมีการพบเอ็นซัมย์ b-mannase I และ II จากบุกด้วย

ประโยชน์ของกลูโคแมนแนน
กลูโคแมนแนนจากบุกมีพลังงานต่ำ จึงใช้เป็นอาหารของผู้ต้องการลดความอ้วน และยังมีประโยชน์ในการช่วยบำบัดรักษา และบรรเทาอาการของโรคบางชนิดด้วย เช่น โรคไขมันในเลือดสูง น้ำตาลในเลือดสูง และไขข้ออักเสบ เป็นต้น นอกจากประโยชน์ทางด้านอาหารและยาแล้ว กลูโคแมนแนนจากบุกยังถูกนำไปใช้ผลิตโลชั่นบำรุงผิว และยาเม็ดชนิด sustained release ด้วย
ผลการทดลองทางเภสัชวิทยา
ทดลองให้หนูขาวกินอาหารผสมผงบุก 5 % พบว่ามีผลทำให้ปริมาณโคเลสเตอรอลในเลือดและตับลดลง และเมื่อทดลองในหนูขาวที่กินอาหารที่มีโคเลสเตอรอลสูง ก็พบว่ามีผลลดปริมาณ โคเลสเตอรอลในเลือดและตับเช่นกัน
ทดลองให้หนูขาวและลิงบาบูนกินอาหารซึ่งผสมกลูโคแมนแนนเจล 5 % พบว่าโคเลศเตอ รอลในเลือดลดลงโดย HDL (high density lipoprotein) ไม่ลด และโคเลสเตอรอลในตับ รวมถึงปริมาณไขมันทั้งหมดก็ลดลงด้วย
จากการทดลองทางคลินิกทั้งในคนปกติและคนไข้โรคเบาหวาน เมื่อให้รับประทานกลูโคแมนแนนจากบุก พบว่าปริมาณน้ำตาลและอินซูลินในเลือดลดลง การที่กลูโคแมนแนนสามารถลดปริมาณน้ำตาลในเลือดได้ เนื่องจากความเหนียวของกลูโคแมนแนนไปยับยั้งการดูดซึมกลูโคสจากทางเดินอาหาร และยิ่งมีความหนืดมาก ก็ยิ่งมีผลการดูดซึมกลูโคสมากขึ้น
จากผลการทดลองพบว่ากลูโคแมนแนนมีผลทำให้การดูดซึมวิตามินที่ละลายในไขมัน เช่น วิตามินอี ลดลง แต่ไม่มีผลต่อการดูดซึมวิตามินที่ละลายได้ในน้ำ เช่น วิตามินบีสิบสอง

สมุนไพร:พระจันทร์ครึ่งซีก



ชื่ออื่น บัวครึ่งซีก(ชัยนาท), บัวปีไน้(แต้จิ๋ว), ป้านเปียนเหลียน(จีนกลาง)

ชื่อวิทยาศาสตร์ Lobelia chinensis Lour। วงศ์ Lobeilaceae (L।radicans Thunb)

ลักษณะ ต้นเป็นไม้เล็กคล้ายหญ้า แผ่ไปตามดิน ลำต้นเล็กยาวประมาณ 20 ซม। เมื่อหักลำต้นมียางสีขาวขุ่นเหมือนน้ำนมไหลซึมออกมา ลำต้นสีเขียวมีข้อน้อยแต่ละข้อจะมีใบหรือกิ่งออกสลับกัน มีรากฝอยแตกออกตามข้อ ใบเรียวเล็กยาวคล้ายใบหอก ไม่มีก้านใบยาว 1-2 ซม. ขอบใบมีรอยหยักแบบฟันเลื่อยห่าง ๆดอกสีม่วงอ่อน เมื่อบานกลีบดอกแยกไปข้างเดียวทำให้เห็นคล้ายเป็นดอกบัวครึ่งซีก มีเกสรตัวผู้ 5 อัน เกสรตัวเมีย 1 อัน ดอกบานใหญ่ในฤดูร้อน เป็นไม้ที่ชอบขึ้นในที่ชื้นแฉะ แพร่พันธุ์โดยการแยกต้นปักชำ

ส่วนที่ใช้ ทั้งต้น (เก็บในฤดูร้อน ขณะที่ดอกกำลังบาน)

สรรพคุณ ลดไข้ แก้หอบหืด บำรุงปอด แก้อาเจียนเป็นเลือด วัณโรค ปอดอักเสบ ทอนซิลอักเสบ บิด ขับปัสสาวะ(เพื่อลดอาการบวมจากไตอักเสบ) ท้องมาน(เนื่องจากพยาธิใบไม้ในเลือดและดีซ่าน) เข้ายาแก้มะเร็งกระเพาะอาหารหรือที่ทวารหนัก แก้ข้ออักเสบ เคล็ดขัดยอกบวมเจ็บ ฝี แผลเปื่อย บาดแผล กลากเกลื้อน ผื่นคันและแก้คัดจมูกเนื่องจากกินยาเข้า รากระย่อม(Rauvolfia Serpentina Benth)

ข้อห้ามใช้ ห้ามใช้ในคนที่มีอาการท้องอืด อาหารไม่ย่อย อุจจาระหยาบเหลว(จีนเรียกม้ามพร่อง)

⇒ ตำรับยาและวิธีใช้

แก้อาเจียนเป็นเลือด ใช้ต้นสดตำผสมกับสุราเล็กน้อย รับประทาน

ท้องเสีย ใช้ต้นสด 15- 30 กรัม (1 กำมือ) ต้มน้ำดื่มทอนซิลอักเสบ ใช้ต้นสดตำให้ละเอียด ปั้นเป็นก้อนขนาดไข่ไก่ ใส่ในถ้วยเติมเหล้าเข้าไป 90 ซีซี। ผสมให้เข้ากัน คั้นเอาน้ำแบ่งอม 3 ครั้งๆ ละ 10-20 นาที แล้วบ้วนทิ้งบิด ใช้ต้นสด 60 กรัม ต้มน้ำ เติมน้ำตาลแดงดื่ม

บวมน้ำ (เพราะไตอักเสบ) ท้องมาน (เนื่องจากพยาธิใบไม้) ใช้ต้นสด 30- 60 กรัม ต้มน้ำดื่ม

ดีซ่าน ขัดเบา บวมน้ำ ใช้ต้นสด 30 กรัม ผสมกับรากหญ้าคา ( Imperatacylindrica Beauv ) 30 กรัม ต้มน้ำใส่น้ำตาลทราย แบ่งกิน 2 ครั้ง เช้า-เย็น

เคล็ดขัดยอก บวมเจ็บ ใช้ต้นสด 60 กรัม น้ำ 180 ซีซี। ต้มให้เหลือ 90 ซีซี।กรองเอาน้ำเก็บไว้ นำกากที่เหลือไปต้มอีกครั้งตามอัตราส่วนเดิม นำน้ำกรองครั้งที่ 2 รวมกับครั้งแรก ให้เหลือ 60 ซีซี। เทใส่ขวดเก็บไว้ เวลาใช้เอาสำลีชุบน้ำยา ปิดบริเวณที่ปวดบวม ฝี แผลเปื่อย

ผิวหนังอักเสบ ใช้ต้นสดพอประมาณ ใส่เกลือเล็กน้อย ตำให้แหลก พอกบริเวณที่เป็น เต้านมอักเสบ ใช้ต้นสด ตำให้ละเอียด พอกบริเวณที่เป็น

ตาแดง ใช้ต้นสดจำนวนพอสมควร ล้างให้สะอาด ตำให้ละเอียด นำมาพอกบนหนังตา เอาผ้าก็อตที่สะอาดปิด เปลี่ยนยาวันละ 2 ครั้ง

สารเคมี : สารสำคัญคือ Lobeline, Flavone และ Insulin



รายงานทางคลินิก การรักษาผู้ป่วยที่เป็นโรคติดเชื้อพวกยาพยาธิใบไม้ระยะท้าย ที่มีอาการตับแข็งและท้องมาน (โดยใช้ร่วมกับยาที่มีพลวง พวก antimony potassium tartrate ซึ่งมีฤทธิ์ฆ่าพยาธิใบไม้) พบว่ามีฤทธิ์แตกต่างกันไป แต่ฤทธิ์ที่ตรงกันคือ มีการขับปัสสาวะเพิ่มขึ้น บางรายอาจทำให้ถ่ายท้อง ในผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาแบบนี้ มีจำนวนมากที่ขับปัสสาวะเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด แต่มีเพียงเล็กน้อยเท่านั้นที่ปัสสาวะเป็นปกติ ระยะเวลาออกฤทธิ์ขับปัสสาวะไม่แน่นอน แต่ส่วนใหญ่จะเริ่มเห็นผลใน 1-5 วัน ในช่วงที่รักษาด้วยยานี้พบว่า อาการท้องมานลดลง กินอาหารได้มากขึ้น การไหลเวียนของโลหิตที่ดีขึ้น การทำงานของตับดีขึ้น โดยใช้ต้นแห้ง 15-20 กรัม เติมน้ำลงไป 300 มล. ใช้ไฟอ่อนๆ ต้มให้เหลือ 30 มล. เติมน้ำตาลแบ่งกิน 3-4 ครั้งต่อวัน ทำการรักษาช่วงละ 15-20 วัน ผู้ป่วยทีมีอาการดีขึ้น ให้กินต่อไปเรื่อย ๆ จนอาการท้องมานหายไป รวมทั้งควรกินอาหารเสริมโปรตีนที่มีไขมันน้อยและเกลือเล็กน้อยหรือไม่มีเกลือ จากการใช้กับผู้ป่วย 100 ราย ได้ผล 69 รายข้อสังเกต ยาต้มควรใช้ยาสดและใหม่ ไม่ควรทิ้งยาต้มไว้เกิน 4 ชั่วโมง โดยเฉพาะในฤดูร้อน เพราะยาจะเสื่อมคุณภาพได้ง่าย อาจเตรียมเป็นขี้ผึ้งหรือยาเม็ด แต่ผลการรักษาจะด้อยกว่ายาต้ม.
ขอบคุณข้อมูลจากสรรพคุณสมุนไพร 200ชนิด