Welcome www.herbsdd.blogspot.com

ขอต้อนรับเข้าสู่เวปไซต์ www.herbsdd.blogspot.com เพื่อคนรักสุขภาพและสมุนไพร เพื่อชีวิตที่ดีด้วยวิธีง่ายๆในการใส่ใจสุขภาพที่น่าทะนุถนอมของคุณ

วันเสาร์ที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2554

สมุนไพร:พระจันทร์ครึ่งซีก



ชื่ออื่น บัวครึ่งซีก(ชัยนาท), บัวปีไน้(แต้จิ๋ว), ป้านเปียนเหลียน(จีนกลาง)

ชื่อวิทยาศาสตร์ Lobelia chinensis Lour। วงศ์ Lobeilaceae (L।radicans Thunb)

ลักษณะ ต้นเป็นไม้เล็กคล้ายหญ้า แผ่ไปตามดิน ลำต้นเล็กยาวประมาณ 20 ซม। เมื่อหักลำต้นมียางสีขาวขุ่นเหมือนน้ำนมไหลซึมออกมา ลำต้นสีเขียวมีข้อน้อยแต่ละข้อจะมีใบหรือกิ่งออกสลับกัน มีรากฝอยแตกออกตามข้อ ใบเรียวเล็กยาวคล้ายใบหอก ไม่มีก้านใบยาว 1-2 ซม. ขอบใบมีรอยหยักแบบฟันเลื่อยห่าง ๆดอกสีม่วงอ่อน เมื่อบานกลีบดอกแยกไปข้างเดียวทำให้เห็นคล้ายเป็นดอกบัวครึ่งซีก มีเกสรตัวผู้ 5 อัน เกสรตัวเมีย 1 อัน ดอกบานใหญ่ในฤดูร้อน เป็นไม้ที่ชอบขึ้นในที่ชื้นแฉะ แพร่พันธุ์โดยการแยกต้นปักชำ

ส่วนที่ใช้ ทั้งต้น (เก็บในฤดูร้อน ขณะที่ดอกกำลังบาน)

สรรพคุณ ลดไข้ แก้หอบหืด บำรุงปอด แก้อาเจียนเป็นเลือด วัณโรค ปอดอักเสบ ทอนซิลอักเสบ บิด ขับปัสสาวะ(เพื่อลดอาการบวมจากไตอักเสบ) ท้องมาน(เนื่องจากพยาธิใบไม้ในเลือดและดีซ่าน) เข้ายาแก้มะเร็งกระเพาะอาหารหรือที่ทวารหนัก แก้ข้ออักเสบ เคล็ดขัดยอกบวมเจ็บ ฝี แผลเปื่อย บาดแผล กลากเกลื้อน ผื่นคันและแก้คัดจมูกเนื่องจากกินยาเข้า รากระย่อม(Rauvolfia Serpentina Benth)

ข้อห้ามใช้ ห้ามใช้ในคนที่มีอาการท้องอืด อาหารไม่ย่อย อุจจาระหยาบเหลว(จีนเรียกม้ามพร่อง)

⇒ ตำรับยาและวิธีใช้

แก้อาเจียนเป็นเลือด ใช้ต้นสดตำผสมกับสุราเล็กน้อย รับประทาน

ท้องเสีย ใช้ต้นสด 15- 30 กรัม (1 กำมือ) ต้มน้ำดื่มทอนซิลอักเสบ ใช้ต้นสดตำให้ละเอียด ปั้นเป็นก้อนขนาดไข่ไก่ ใส่ในถ้วยเติมเหล้าเข้าไป 90 ซีซี। ผสมให้เข้ากัน คั้นเอาน้ำแบ่งอม 3 ครั้งๆ ละ 10-20 นาที แล้วบ้วนทิ้งบิด ใช้ต้นสด 60 กรัม ต้มน้ำ เติมน้ำตาลแดงดื่ม

บวมน้ำ (เพราะไตอักเสบ) ท้องมาน (เนื่องจากพยาธิใบไม้) ใช้ต้นสด 30- 60 กรัม ต้มน้ำดื่ม

ดีซ่าน ขัดเบา บวมน้ำ ใช้ต้นสด 30 กรัม ผสมกับรากหญ้าคา ( Imperatacylindrica Beauv ) 30 กรัม ต้มน้ำใส่น้ำตาลทราย แบ่งกิน 2 ครั้ง เช้า-เย็น

เคล็ดขัดยอก บวมเจ็บ ใช้ต้นสด 60 กรัม น้ำ 180 ซีซี। ต้มให้เหลือ 90 ซีซี।กรองเอาน้ำเก็บไว้ นำกากที่เหลือไปต้มอีกครั้งตามอัตราส่วนเดิม นำน้ำกรองครั้งที่ 2 รวมกับครั้งแรก ให้เหลือ 60 ซีซี। เทใส่ขวดเก็บไว้ เวลาใช้เอาสำลีชุบน้ำยา ปิดบริเวณที่ปวดบวม ฝี แผลเปื่อย

ผิวหนังอักเสบ ใช้ต้นสดพอประมาณ ใส่เกลือเล็กน้อย ตำให้แหลก พอกบริเวณที่เป็น เต้านมอักเสบ ใช้ต้นสด ตำให้ละเอียด พอกบริเวณที่เป็น

ตาแดง ใช้ต้นสดจำนวนพอสมควร ล้างให้สะอาด ตำให้ละเอียด นำมาพอกบนหนังตา เอาผ้าก็อตที่สะอาดปิด เปลี่ยนยาวันละ 2 ครั้ง

สารเคมี : สารสำคัญคือ Lobeline, Flavone และ Insulin



รายงานทางคลินิก การรักษาผู้ป่วยที่เป็นโรคติดเชื้อพวกยาพยาธิใบไม้ระยะท้าย ที่มีอาการตับแข็งและท้องมาน (โดยใช้ร่วมกับยาที่มีพลวง พวก antimony potassium tartrate ซึ่งมีฤทธิ์ฆ่าพยาธิใบไม้) พบว่ามีฤทธิ์แตกต่างกันไป แต่ฤทธิ์ที่ตรงกันคือ มีการขับปัสสาวะเพิ่มขึ้น บางรายอาจทำให้ถ่ายท้อง ในผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาแบบนี้ มีจำนวนมากที่ขับปัสสาวะเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด แต่มีเพียงเล็กน้อยเท่านั้นที่ปัสสาวะเป็นปกติ ระยะเวลาออกฤทธิ์ขับปัสสาวะไม่แน่นอน แต่ส่วนใหญ่จะเริ่มเห็นผลใน 1-5 วัน ในช่วงที่รักษาด้วยยานี้พบว่า อาการท้องมานลดลง กินอาหารได้มากขึ้น การไหลเวียนของโลหิตที่ดีขึ้น การทำงานของตับดีขึ้น โดยใช้ต้นแห้ง 15-20 กรัม เติมน้ำลงไป 300 มล. ใช้ไฟอ่อนๆ ต้มให้เหลือ 30 มล. เติมน้ำตาลแบ่งกิน 3-4 ครั้งต่อวัน ทำการรักษาช่วงละ 15-20 วัน ผู้ป่วยทีมีอาการดีขึ้น ให้กินต่อไปเรื่อย ๆ จนอาการท้องมานหายไป รวมทั้งควรกินอาหารเสริมโปรตีนที่มีไขมันน้อยและเกลือเล็กน้อยหรือไม่มีเกลือ จากการใช้กับผู้ป่วย 100 ราย ได้ผล 69 รายข้อสังเกต ยาต้มควรใช้ยาสดและใหม่ ไม่ควรทิ้งยาต้มไว้เกิน 4 ชั่วโมง โดยเฉพาะในฤดูร้อน เพราะยาจะเสื่อมคุณภาพได้ง่าย อาจเตรียมเป็นขี้ผึ้งหรือยาเม็ด แต่ผลการรักษาจะด้อยกว่ายาต้ม.
ขอบคุณข้อมูลจากสรรพคุณสมุนไพร 200ชนิด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น